วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การหาแรงตึงเชือก

การหาแรงตึงเชือก
หลักการ
1. เชือกเส้นเดียวกันแรงตีงเชือกย่อมเท่ากัน
2. แรงตึงเชีอกมีทิศพุ่งออกจากจุดที่เราพิจารณา
3. รอกลื่นทำให้เชือกเปลี่ยนทิศทางเท่านั้นไม่มีผลต่อขนาดของแรงที่กระทำ อ่านเพิ่มเติม

แรงเสียดทานสถิต

แรงเสียดทานสถิต (Static frictional force)
เป็นแรงเสียดทานระหว่างผิวทั้งสองของวัตถุที่สัมผัสกัน เกิดขึ้นเมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุหนึ่งแต่ยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิตมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่บนอีกผิวหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

การหาแรงดันระหว่างมวล

ความหมายของแรงดัน
        ความดัน หมายถึง แรง (force; F) ต่อ หน่วยพื้นที่ (area; A)ใน SI unit ความดันมีหน่วย เป็น ปาสคาล (Pa) หรือ นิวตันต่อตารางเมตร หรือ กิโลกรัมต่อเมตรต่อวินาทีกำลังสอง ส่วนความดันในหน่วย มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ซึ่ง 760 mmHg = 101325 Pascal หรือ 1 atm = 101325 Pa = 101.325 kPa แต่อย่างไรก็ตามความดันในหน่วย mmHg ไม่ใช่ SI unit แต่ก็อนุโลมให้ใช้ค่าความดันในหน่วย mmHg หรือ ความดันบรรยากาศเป็นหน่วยความดันมาตรฐาน อ่านเพิ่มเติม 

แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน (frictional force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิววัตถุกับพื้นที่ สัมผัสและมีทิศตรงกันข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุเสมอ แรงเสียดทานแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
              1. แรงเสียดทานสถิตเป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุอยู่นิ่งจนถึงเริ่มต้นเคลื่อนที่ มีความสัมพันธ์

ตามสมการ



= แรงเสียดทานสถิต หน่วยเป็นนิวตัน

= แรงปฏิกิริยาในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส หน่วยเป็นนิวตัน

เรียกว่า สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ไม่มีหน่วย อ่านเพิ่มเติม 

กฎของนิวตัน

          ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษเป็นผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ นิวตันเกิดที่วูลส์ธอร์พแมน เนอร์ลิงคอนเชียร์ อังกฤษ ในปี ค.ศ. 2019 หนังสือชื่อ PhilosophiæNaturalis Principia Mathematica (เรียกกันโดยทั่วไปว่า Principiareble)  เป็นรากฐานกฎกติกาพื้นฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงที่กระทำ (กฎว่าด้วยการเคลื่อนที่3 ข้อของนิวตัน) และทฤษฎีความโน้มถ่วงที่อธิบายว่าแรงซึ่งดึงดูดให้ผลแอปเปิลจากต้นตกสู่พื้น เป็นแรงชนิดเดียวกับที่ควบคุมการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ นิวตันได้ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุและได้เสนอกฎการเคลื่อนที่สามข้อ อ่านเพิ่มเติม 

การหาแรงลัพธ์

การหาแรงลัพธ์
          เนื่องจากแรงเป็นปริมาณเวคเตอร์ดังนั้นการหาแรงลัพธ์คิดเหมือนกับ  การหาเวคเตอร์ลัพธ์ โดยแทนแรงด้วยลูกศร ความยาวของลูกศรจะแทนขนาดของแรง และทิศของลูกศรจะแทนทิศทางของแรงที่กระทำ และวัตถุจะเคลื่อนที่ไปตามทิศของแรงลัพธ์

วิธีการหาแรงลัพธ์ มี 2 วิธี
         1. การเขียนรูป (โดยแทนแรงด้วยลูกศร )
ใช้หางต่อหัว คือเอาหางของลูกศรที่แทนแรงที่ 2 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 1
แล้วเอาหางลูกศรที่แทนแรงที่ 3 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 2 .....ต่อกันไปจนหมด
โดยทิศของลูกศรที่แทนแรงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  อ่านเพิ่มเติม 

แรง

แรง
            ในทางฟิสิกส์คือการกระทำจากภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพ โดยแรงเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน เช่น คนที่จูงสุนัขอยู่ด้วยเชือกล่าม ก็จะได้รับแรงจากเชือกที่มือ ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงไปข้างหน้า ถ้าแรงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ตามกฎข้อที่สองของนิวตันคือ เกิดความเร่ง ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจลนศาสตร์ก็อาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้เช่นกัน หน่วยเอสไอของแรงคือ อ่านเพิ่มเติม

การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง (Motion under gravity)
           เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงแรงเดียว การเคลื่อนที่ลักษณะนี้จะไม่คิดแรงต้านของอากาศ

สมการการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
           เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือ การการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่ง ดังนั้น สมการในการคำนวณจึงเหมือนกับสมการการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงแต่เปลี่ยนค่า a เป็นg เท่านั้น อ่านเพิ่มเติม 

 

การเคลื่อนที่แนวตรง

แรงและการเคลื่อนที่
 1. เวกเตอร์ของแรง
             แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ
            1. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น
            2. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา พลังงาน ความยาว อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม 
 

บทนำ

การวัด   จะต้องประกอบด้วย
1. วิธีการวัดที่ถูกต้อง
2. เครื่องมือวัดที่เหมาะสม
3. ผู้วัดที่มีความรู้ความสามารถ
4. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
                 การแสดงผลการวัด ต้องแสดงตัวเลขที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดทุกตัวที่สามารถอ่านได้ และเพิ่มค่าที่ปริมาณหรือคาดเดาที่ตัวเลขสุดท้ายอีก 1 ตำแหน่ง

หน่วยการวัด
          1. หน่วยฐานเอสไอ เป็นหน่วยมาตรฐานที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้ เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Units) หรือหน่วยเอสไอ มีทั้งหมด 7 หน่วย อ่านเพิ่มเติม